"เพราะเสี้ยวนาที...คือชีวิต"

กระบวนการรักษาอย่างมืออาชีพจะช่วยต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วยอีกหลายชีวิตและส่งคืนคนที่รักกลับสู่อีกหลายครอบครัว การดูแลรักษาผู้ป่วยจึงต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะวิชาชีพชำนาญการหลายสาขาประสานร่วมกัน เพื่อการรักษาที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที

ER-VIPE หรือ Emergency Room – Virtual Interprofessional Education พัฒนาขึ้นภายใต้ฐานคิดของการพัฒนาการศึกษาทางด้านการแพทย์ที่มุ่งเน้นการสร้างทีมสหวิชาชีพชำนาญการเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างยั่งยืน ผ่านการต่อยอดระบบการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะช่วยจุดประกายการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสร้างการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัดให้กับผู้เรียนทุกเพศ ทุกวัย เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ ได้พัฒนาทักษะ Nontechnical skill เช่น ทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และทักษะการคิดตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญจำเป็นในกระบวนการรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินอย่างยั่งยืน

คณาจารย์ที่พูดถึง

  • Simulation is the bridge between theory and practice, where knowledge takes on life.

    นพ.ลภน เหราบัตย์
    แพทย์ใช้ทุนเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ขอยืนยันอีกเสียงว่า “IPE เป็นโครงการที่ดีอย่างมาก เพราะชีวิตการทำงานในสภาวะวิกฤติฉุกเฉิน นอกจากใช้ความรู้แล้วการทำงานเป็นทีมก็ยังมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยลดความขัดแย้งในการทำงาน แถมผู้ป่วยยังปลอดภัยอีกด้วย”

    อ.พว.สุพจน์ ดีไทย
    อาจารย์พยาบาลจากสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • เป็นโครงการที่ดีมากครับที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้การทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ ทำให้เราเข้าใจมุมมองวิธีคิดของวิชาชีพอื่น และยังได้ฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การทำงานของทีมรักษามีประสิทธิผลมากที่สุด

    ภก.ศุภณัฐ เขื่อนแก้ว
    เภสัชกรประจำบ้าน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพเป็นการวางรากฐานทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์กับความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างแท้จริง ทีม มิตรภาพ การสื่อสาร การสนับสนุนกัน ภาวะผู้นำ จริยธรรม เป็นทักษะที่เสริมให้การรักษามีคุณภาพอย่างรอบด้าน ดีใจที่ได้เห็นโครงการดีๆ เช่นนี้ค่ะ การผลิตทีมสุขภาพที่เข้มแข็ง คือ อนาคตของวงการสาธารณสุขไทย

    รศ.ดร.ทนพญ.นันทรี ชัยชนะวงศาโรจน์
    อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โครงการนี้ช่วยเสริมทักษะของน้องๆ จากเดิมที่เคยเรียนคนเดียว ฝึกปฏิบัติคนเดียว มาเรียนรู้ร่วมกันในสถานการณ์เสมือนจริงกับวิชาชีพอื่นๆ ทำให้เข้าใจความสำคัญของแต่ละบทบาทหน้าที่ มองเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ช่วยกันแก้ไข และวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

    อ.ดร.สรารัสมิ์ คงวิโรจน์พันธุ์
    ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตที่พูดถึง

เป็นการ simulation ที่ได้ฝึกร่วมกับเพื่อนๆ จากสหวิชาชีพ และได้จำลองสถานการณ์จริงที่เจอได้ในชีวิตประจำวัน จากปกติที่จะได้ observe พี่ๆที่ทำงานกันจริงๆ ใน ER รอบนี้ได้มาเป็นคนลงมือร่วมกับเพื่อนๆเอง ทำให้ได้รู้จักการแก้ไขปัญหาตามระบบและได้ฝึกการสื่อสารครับ

นนทกร ศิริวัฒนสาธร
นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

I was fascinated with the power of teamwork. Hardly have the four faculties hosted any collaborative activities together, so this is my first time interacting with nurses, pharmacists and lab technicians all at once. I have learnt a lot about how the team can have mutual support and communication to treat the patients in their best interests. The game was also fascinating, the features inside were well-designed as if it was a 3D computer game for sale like Roblox.

ภูวเดช เหล่าผดุงรัชกร
นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเข้าร่วมครั้งนี้ยิ่งทำให้ดิฉันเห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น คิดว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากในระยะยาว เพราะลงทุนครั้งเดียว แต่นักศึกษาสามารถได้ลองอยู่ในสถานการณ์จำลองได้หลายครั้ง ไม่ต้องเปลืองอุปกรณ์จริงมาจำลองสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละครั้ง และเป็นการทำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้จากความผิดพลาด ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ไม่ส่งผลกระทบกับคนไข้จริงๆ

วรนิษฐา เลาหสมพลเลิศ
นิสิตคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การเรียนรู้บนเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะกับการเป็นสื่อการเรียนการสอนในอนาคต ทำให้ได้ฝึกทั้ง technical และ non-technical skills หากนิสิตได้ผ่านการเรียนรู้ด้วยสิ่งนี้ จะช่วยสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถยกระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยได้อย่างแน่นอน

พชรดนัย ภาโนมัย
นิสิตชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรม IPE ทำให้หนูได้เปิดโลกการทำงานแบบสหวิชาชีพ ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ และที่สำคัญได้มองเห็นพลังอันน่ามหัศจรรย์ของการทำงานเป็นทีมเพื่อจุดหมายเดียวกัน…ผู้ป่วยของฉันต้องปลอดภัย

อาทิมา นพรัตนาวงศ์
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้เข้าร่วมเล่นในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงทำให้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละสายงานจึงช่วยพัฒนาการทำงานเป็นทีมเพื่อดูแลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยและลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น

พชรอร พูลสงวน
นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“รู้สึกว่า โครงการ ER_VIPE มันดี เพราะว่าก่อนหน้านี้ยังไม่เคยได้มีโอกาสได้ลองสื่อสารกับวิชาชีพอื่นเลย และตัวโครงการนี้ก็ยังเน้นการสื่อสารกับคนในทีมกับอีกทั้ง 4 กลุ่มวิชาชีพที่เหลือ รู้สึกได้พัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างกันได้มากขึ้น”

บัณฑิตา จัน
นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

ข่าวสารและกิจกรรม

ผู้นำด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัดให้กับผู้เรียนทุกเพศ ทุกวัย เพื่อสร้างทีมสหวิชาชีพชำนาญการ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานและยั่งยืน

ER-VIPE

Copyright © ER-VIPE rights reserved.

ผู้นำด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัดให้กับผู้เรียนทุกเพศ ทุกวัย เพื่อสร้างทีมสหวิชาชีพชำนาญการ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานและยั่งยืน

ER-VIPE

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

chulas4p@gmail.com

02-256-4000 ต่อ 3296

Facebook

YouTube

TikTok

Copyright © ER-VIPE rights reserved.