ER-VIPE หรือ Emergency Room – Virtual Interprofessional Education มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมการศึกษาทางการแพทย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้หรือผู้รับบริการทางการแพทย์ต่างก็มีความสุขและอุ่นใจทุกครั้ง ในกระบวนการรักษา โดยพันธกิจหลักของโครงการ คือ การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพทางการแพทย์ สำหรับเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้แก่นิสิต นักศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ ให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยและทั่วถึง อันจะช่วยลดความผิดพลาดทางการแพทย์ที่เราสามารถป้องกันได้
กระบวนการรักษาอย่างมืออาชีพจะช่วยต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วยอีกหลายชีวิตและส่งคืนคนที่รักกลับสู่อีกหลายครอบครัว การดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจึงจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะวิชาชีพชำนาญการหลายสาขาประสานร่วมกัน เพื่อรักษาที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที
ER-VIPE พัฒนาขึ้นภายใต้ฐานคิดของการมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาทางด้านการแพทย์ ที่ริเริ่มมาจากความมุ่งมั่นและความร่วมมือของคณาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินมากถึง 5 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และนักรังสีเทคนิค ทุกฝ่ายวิชาชีพตระหนักถึงความผิดพลาดที่เกิดจากบุคลากรทางการแพทย์เอง (Preventable Human Error) ในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย อันซึ่งสามารถป้องกันได้
(อ้างอิงจากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins พบว่า preventable Human Error เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยระหว่างการรักษาลำดับต้นๆ ที่มีสัดส่วนสูงถึงกว่า 2 แสนเคสต่อปี)
ปัจจัยเชิงลึกที่เป็นสาเหตุของความผิดพลาดจากบุคลากรทางการแพทย์อันซึ่งป้องกันได้
(Preventable Human Error) ในกระบวนการการรักษานั้น มีหลายประการ
ยังไม่มีหลักสูตรที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ Inter-professional Medical Education ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้ง ไม่มีการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต (life-long learning) สำหรับบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่ระบบการทำงานในสถานพยาบาลต่างๆ
เนื่องด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ผ่านมา มักถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของ Work-based learning และ Human organizing class เช่น simulation class ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา สถานที่ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชาชีพซึ่งอยู่อย่างจำกัด แม้ว่าสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอจะถูกนำมาใช้เพื่อพยายามแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเหล่านั้นก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการสร้างความตระหนักและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน Gen Y และ Gen Z ได้
กระบวนการสร้างประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยในปัจจุบัน มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ผ่านการลงมือปฏิบัติหน้างานจริง ซึ่งยังไม่สามารถควบคุมระดับความซับซ้อนและความหลากหลายของสถานการณ์หน้างาน ณ ช่วงเวลานั้นได้ ทำให้หลายครั้งผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ไม่ครอบคลุม นำไปสู่การพัฒนาทักษะที่ไม่เต็มประสิทธิภาพและมีมาตรฐานระหว่างบุคคลที่ไม่เท่าเทียมกัน
ในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ เพื่อการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนร่วมกันแบบบูรณาการ และวัฒนธรรม No blame culture นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และปัจจุบันยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ซึ่งหากส่งเสริมการเรียนรู้เหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยลดช่องว่างในกระบวนการรักษา ซึ่งนำไปสู่การลดอัตราความผิดพลาดจากบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันได้
ER-VIPE จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน พร้อมสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ ทั้งผู้เรียนและสังคมในโลกอนาคต ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ฝึกฝนทักษะ technical และ non-technical skills ในสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ผ่านระบบ Online Virtual Simulation ภายใต้ concept “Anyone Anytime Anywhere can Learn” นำไปสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการสร้างบุคลากรทางการแพทย์มืออาชีพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินให้กับสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
11 คณะ ภายใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะนิเทศศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2 องค์กร ภายใต้สภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
Research Abstract Title : [Improving Hospitals’ Patient Safety Culture and the Return on Investment in The Emergency Department by Using Tabletop and High-Fidelity Simulation-based Interprofessional Education] – Presenting at IMSH 2022 in CA, USA.
Isaravadee Rakphuak, Pholaphat Charles Inboriboon, Phanupong Phutrakool, and Khuansiri Narajeenron
Research Abstract Title : [Medical Drama for Interprofessional Education: Teaching Learners How to ‘Think,’ ‘Feel,’ ‘Reflect’] – Presenting at AMEE 2022 in Lyon, France.
Khuansiri Narajeenron, Thanyaluk Bunlikitkul, Poonsub Areekit, Pataraporn Kheawwan, Pholaphat Charles Inboriboon, and Satid Thammasitboon
Research Abstract Title : [Translation and Psychometric Validation of the Thai Version of
TEAMSTEPPS Teamwork Performance Observation Tool] – Presenting at the ICN Congress 2022 in Montreal, Canada.
Pataraporn Kheawwan, Chanya Thanomlikhit, Khuansiri Narajeenron, and Suwimon Rojnawee
Research Abstract Title : [Warning Strategies in Medical and Non-medical Contexts in Thai] – Presenting at AMPRA 2022 in Columbia, SC, USA.
Nattanun Chanchaochai and Khuansiri Narajeenron
Research Abstract Title : [Translating and Psychometric Properties Testing of TEAMSTEPPS Teamwork Attitudes Questionnaire (T-TAQ) among Thai Healthcare Profession] – Presenting at the International Conference on the topic ‘Enhancing Continuity of Care Through the Science and Art in Nursing and Midwifery’ in 2022 in Songkhla, Thailand.
Suwimon Rojnawee, Pataraporn Kheawwan, Khuansiri Narajeenron, and Chanya Thanomlikhit
Research Abstract Title : [การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะทางจริยธรรมในการทางานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพ] – Presenting at งานประชุมวิชาการพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 17, 2023, Nontaburi, Thailand
จารุณี นุ่มพูล1*, บุหงา ตโนภาส1, ญานิศา ดวงเดือน1 , พรทิวา สรรพาวุฒิ1 และ สิริกัญญวรรณ ศรีเกษม1